จิปาถะ

สินสอดงานแต่ง ต้องเสียภาษีไหม?


24 มกราคม 2567

เช็กด่วน รัฐเริ่มเก็บ 'ภาษีสินสอด งานแต่ง'? สินสอด เท่าไร ต้อง เสียภาษี

สินสอดงานแต่ง .jpg

“แต่งงาน” ได้“สินสอด” จากงานแต่ง ต้องเสียภาษีไหม? เป็นคำถามชวนสงสัย หลังจากเริ่มมีข่าวสารในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับกรณีที่ รัฐบาลเริ่มสั่งเก็บ“ภาษีสินสอด งานแต่ง” สำหรับคู่บ่าว-สาว ที่จัดงานแต่งงาน และได้เงินจากซองงานแต่ง ซึ่งตามประเพณี การสู่ขอตามขนบธรรมเนียมของการแต่งงานแบบไทย ฝ่ายชายจะต้องไปสู่ขอฝ่ายหญิง กับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง มีการให้ “สินสอด” ของหมั้นอย่างถูกต้องเสียก่อน แต่ต้องเสียภาษีหรือไม่

ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า รัฐบาลไม่ได้มีการออกกฎหมายใหม่ ให้กรมสรรพากรไปเก็บ“ภาษีสินสอด งานแต่ง” ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ซึ่งตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อที่ 10 ระบุไว้ว่า เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จะได้รับการยกเว้นภาษี

ส่วน พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 40 พ.ศ. 2558 ได้ระบุไว้ว่า เงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี ได้แก่

-เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะ หรือจากการให้โดยเสน่หาจาก บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษี
-เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะ โดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคล ซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษี ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท ฝ่ายหญิงผู้รับของหมั้นต้องเสียภาษี 5%

ดังนั้น หากอยากจะช่วยพ่อแม่ฝ่ายหญิง และฝ่ายหญิง ไม่ต้องเสีย ภาษีสินสอด งานแต่ง ก็อย่าให้สินสอดแก่พ่อแม่ฝ่ายหญิงเกิน 10 ล้านบาท

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : รัฐบาลไม่ได้มีการออกกฎหมายใหม่ ให้กรมสรรพากรไปเก็บภาษีสินสอด งานแต่ง ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

สินสอด คืออะไร?
สินสอด คือทรัพย์สินที่เป็นเสมือนค่าตอบแทน การยินยอมสมรส ในประเทศไทยจะหมายถึงทรัพย์สินของฝ่ายชาย ที่ให้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง สินสอดจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ก็ได้ เช่น ทอง เพชร ฯลฯ

บทสรุป
แต่สินสอด ของหมั้น ถือเป็นเงินได้ ที่ผู้มีเงินได้ ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ โดยธรรมเนียม หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น ดังนั้น หากพ่อแม่ฝ่ายหญิง ได้รับสินสอดไม่เกิน 10 ล้านบาท ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่หากเกิน 10 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท พ่อแม่ฝ่ายหญิงผู้รับสินสอดต้องเสียภาษี 5%

ที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/nXmVlXL